User:อิง ถุ

From Wikimedia Commons, the free media repository
Jump to navigation Jump to search

สำนักสงฆ์คลองแอนสามสี่ธัมมิการาม เป็นสำนักสงฆ์ในพระพุทธศาสนาสังกัดหินยาน(เถรวาท) ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ที่ 18/8 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่

ประวัติ แต่เดิมเป็นสถานที่ไว้เช่าประกอบการงานทั่วไป มีเจ้าของที่ดิน คือ นายมี มียิ่งและนางละไม มียิ่ง ภายหลังจึงเกิดศรัทธาถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2544 โดยมีพระมหารังสรรค์ สัญญโม เป็นผู้ดำเนินงาน พื้นที่ 4 ไร่ เป็นบึงน้ำลึกประมาณ 3 เมตรครึ่ง ซึ่งหากจะดำเนินการสร้างต้องถมที่โดยใช้รถไม่ต่ำกว่า 3000 คันรถสิบล้อ ซึ่งเป็นจำนวนเงินเยอะมาก

หลังจากกฐิน ปี พ.ศ.2545 ได้รับความอุปถัมภ์อนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณพระธรรมเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ฝ่ายธรรมยุต ที่วัดจันทน์กะพ้อ(ในสมัยนั้น) ท่านมีความตั้งใจที่จะสร้างวัดเพื่อเแลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2547 จึงสั่งให้ญาติโยมลูกศิษย์ของท่นนำดินมาถมที่ให้ 350 คันรถสิบล้อ พร้อมทั้งประมูลไม้เก่าจากบ้านพักครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมาสร้างกุฏิได้ 5 หลัง ซึ่งเป็นหลังเล็กๆ และมีเมตตาให้ชื่อว่าสำนักสงฆ์คลองแอนสามสี่ธัมมิการามเป็นการชั่วคราว (เหตุที่ตั้งคลองแอนสามสี่ เพราะอยู่ระหว่างคลองสามและคลองสี่ มีคลองน้ำขนาดเล็ก(แอน) เป็นเส้นแบ่ง)และได้ให้พระมหารังสรรค์ สัญญโม รักษาการเจ้าสำนักฯ

ในปี พ.ศ.2546 พระมหารังสรรค์ สัญญโม ได้นำวัสดุเหลือใช้จำพวกอิฐ หิน ปูน มาถมตลอดปี รวมมากกว่า 1000 คันรถ ทำให้มีสภาพเป็นลานวัดได้ แต่โครงการก็ต้องยุติลงก่อนเพียงต้นปี พ.ศ.2547 เพราะในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 ช่วงเวลาเย็น หลังจากที่ท่านเจ้าคุณเดินทางตรวจดูความเรียบร้อยและขณะกำลังเดินทางกลับวัดจันทน์กะพ้อนั้น ก็ปรากฏรถปิกอัพของคนขับ เหาะข้ามเกาะจากถนนอรกฟากไปหล่นทับรถยนต์ของท่านเจ้าคุณฯ บนเส้นทางหลวงสายบางขัน-หนองเสือ เหตุการนี้ทำให้ท่านได้รับบาดเจ็บสาหัส รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาเกือบ 2 ปี และท้ายที่สุดพระเดชพระคุณท่านถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2549 พร้อมกับการยุติโครงการด้วยเช่นกัน ทำให้การพัฒนาเป็นไปด้วยความล่าช้า

ปัจจุบันถึงจะมีสิ่งปลูกสร้างขึ้นมามากขึ้น ได้แก่ กุฏิที่พัก ศาลาการเปรียญที่ใช้ประกอบการสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น รวมถึงฉันภัตตาหาร หอระฆังที่ยังไม่สมบูรณ์ มูลนิธิมีละไมกุศล(จดทะเบียนจัดตั้งเรียบร้อย) แต่การพัฒนาก็ยังเป็นไปอย่างเรื่อยๆภายใต้ความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน พุทธศาสนิกชน เพื่อให้สำเร็จเป็นวัดอย่างสมบูรณ์ในที่สุดนั่นเอง