File:มนขอมพิษณุ.jpg

From Wikimedia Commons, the free media repository
Jump to navigation Jump to search

Original file (650 × 777 pixels, file size: 183 KB, MIME type: image/jpeg)

Captions

Captions

Add a one-line explanation of what this file represents

Summary

[edit]
Description
ไทย: ประวัติของชาติไทยและพระพุทธศาสนาในชาติไทย ได้แปลจากกระเบื้องจารที่ขุดได้ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเริ่มในระยะแรก และเข้ามาในสุวรรณภูมิหรือชาติไทยนี้ได้อย่างไร

กระเบื้องจารบันทึกไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติคุรุธรรม 8 ประการ อันเป็นเครื่องอยู่ของภิกขุณีนั้น ทรงพยากรณ์ไว้ว่า สัทธรรมพระพุทธศาสนาจะเจริญอยู่ได้เพียงพันปี คำพยากรณ์นี้ชาวชมพูทวีปรู้กันทั่วไปในสมัยนั้น กระทั่งพุทธกาลล่วงไปแล้ว 100 ปี หลังทำสังคยนาครั้งที่ 2 เสร็จแล้ว พระสงฆ์อรหันตขีณาสพและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงได้ปรึกษาหารือกันว่า ทำอย่างไรพระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ได้นานกว่า 1,000 ปี ได้พิจารณาเห็นร่วมกันว่าต้องนำไปประดิษฐาน ณ ต่างประเทศ พระพุทธศาสนาจึงจะได้ยืนยาวต่อไป ท่านเมตเตยะโพธิสัตว์ได้พิจารณาเห็นว่า แผ่นดินที่ควรนำไปประดิษฐานมีสองแห่ง คือ ลังกาทวีปและแหลมทองสุวรรณภูมิ ลังกาทวีปเป็นไปได้ง่าย เพราะอยู่ใกล้และภาษาคล้ายกันพอเข้ากันได้ แต่แหลมทองสุวรรณภูมิไม่คุ้นภาษาพระไตรปิฎก ค่อนข้างเป็นอุปสรรค ถ้าสามารถแก้ไขอุปสรรคได้ก็จะยั่งยืนมั่นคงกว่าที่อื่น เมื่อเห็นพ้องกันเช่นนั้นแล้ว ต่างก็แบ่งหน้าที่กันทำงาน ติสสมหาพรหมรับจะจุติลงมาเกิดเป็นพระมหาโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เพื่อดำเนินการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ให้สอดคล้องกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่จะทำการบำรุงพระพุทธศาสนา ส่วนพระเมตตยะโพธิสัตว์ สร้างพระบารมีทางประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ทำการสร้างโบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป เพื่อพระพุทธศาสนาตั้งมั่น ในกระเบื้องจารที่ขุดได้ที่คูบัวนี้ บันทึกไว้อีกว่า ผู้เมตเตยะมาคอยตั้งพระพุทธศาสนามั่น ต้องถางป่า จัดวางแบบวัด อุโบสถ นิมิตสีมา สลักหิน ทำปูน หลอมแร่ กระทำกิจนอกจากคันถวิปัสสนา ซึ่งมักต้องผิดวินัย จึงต้องครองเพศคฤหัสถ์เป็นมนขอมพิษณุ อันที่จริง พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในสุวรรณภูมิก่อนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่จะทำสังคายนาครั้งที่ 3 เสียอีก (เมื่อพุทธกาลล่วงแล้ว 235 ปี) คือ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วได้ 19 พรรษา พระปุณณเถระ อรหันต์ไทยองค์แรกสมัยยังเป็นฆราวาส ได้นำเกวียน 500 บรรทุกสินค้าจากเมืองพริบพลีหรือเพชรบุรีในปัจจุบัน ไปค้า ณ เมืองราชคฤห์ ชมพูทวีป ได้มีโอกาสเข้าฟังธรรมเทศนาและขออุปสมบทโดย เอหิภิกขุ เฉพาะพระพักตร์ ได้เป็นอรหันต์ แล้วกลับสู่เมืองเดิมและไปอยู่ที่ถ้ำเขางู ราชบุรี และต่อมาประมาณพุทธพรรษาที่ 25 (หลังตรัสรู้) จึงได้นำพระเจ้าทับไทยทองไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่กรุงราชคฤห์ แล้วดวงตาเห็นธรรมได้บรรลุโสดาบัน ได้ขอตอนกิ่งโพธิ์ตรัสรู้มาปลูกในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นประมาณพระพุทธองค์มีอายุพรรษาได้ประมาณ 43 ปี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ส่งพระพุทธรูปจำลองมาถวาย จึงได้มีการสร้างโบสถ์ใหญ่ขึ้นทางทิศตะวันตกของเมืองทอง (สุวรรณภูมิ) เพื่อให้คนกราบไหว้บูชา พระเจ้าทับไทยทองเมื่อทรงชรา ได้มอบราชสมบัติให้โอรสแล้วเสด็จไปจำศีลกับพระปุณณเถระ พระมหาเถระได้แกะสลักรูปพระพุทธองค์ตามรอยเงาพระฉายที่ติดผนังถ้ำ สมัยที่พระพุทธองค์เสด็จมาเมืองไทยเข้าประทับที่ถ้ำเขางู พระเจ้าอโศกมหาราชได้นิมนต์พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสเถระให้เป็นประธานสงฆ์ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 และได้เชิญฝ่ายไทยไปร่วมฟังการทำสังคายนาด้วย ซึ่งอยู่ในสมัยพระเจ้าโลกละว้าราชาธิบดี พระองค์ทรงติดภารกิจจึงส่งขุนอินทรมนตรีถือพระราชสาสน์ไปแทนเมื่อ พ.ศ.235 เมื่อกลับมาแล้วพระเจ้าอโศกมหาราชได้ให้ราชทูตถือพระราชสาสน์ทูลให้ทราบว่า สังคายนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมืองมคธมีภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีศีลธรรมงามพร้อมจะได้ส่งภิกษุสงฆ์มีความรู้ดี 5 รูป มายังสุวรรณภูมิให้คอยรับในพุทธกาล 240 พระอรหันตเถระเจ้า 5 รูปนี้ คือ พระโสณะ พระอุตตระ พระฌานียะ พระภูริยะและพระมูนียะ ซึ่งยังอยู่ในสมัยพระเจ้าโลกละว้าและเข้าพักที่วัดปุณณาราม ซึ่งพระปุณณะมหาเถระสร้างไว้ในสมัยพระเจ้าทับทองไทย การมาของพระอรหันต์เจ้า 5 รูปนี้ มีผู้ติดตามอื่นอีกรวม 38 คน เรือมาถึงสุวรรณภูมิในเดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ปีฉลู พุทธกาลล่วงแล้ว 235 ปี วันแรกที่มาถึง พระเจ้าโลกละว้า ขุนหญิงก้านตาเทวี พระเจ้าตะวันราชโอรส พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ประชาชน ไปต้อนรับแน่นขนัดด้วยความศรัทธาเลื่อมใส กล่าวถึงท่านมนขอมพิษณุ ซึ่งเกิดในสมัยพระเจ้าโลกละว้าธิบดีนี้ (ประมาณ พ.ศ.210) มีศักดิ์ศรีสืบเชื้อสายกษัตริย์มาแต่โบราณ อยู่ยังเมืองพงตึก ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ในเขตกาญจนบุรี เจ้าเมืององค์แรกของเมืองพงตึกชื่อ พ่อขุนเขาเขียว มีลูกสาวคนเดียวชื่อ นางกวักหรือขุนหญิงกวักทองมา ซึ่งต่อมาได้หนีไปกับพ่อขุนอินทร์ ได้เป็นมเหสีและมีลูกชื่อ ขนอินทร์ และขุนอินทร์องค์นี้เองเป็นคนไทยคนแรกที่คิดเอาอิฐมาก่อตึกขึ้นเป็นเมือง และเป็นข้อพิสูจน์ว่าคนไทยรู้จักสร้างตึกมาหลายพันปีแล้ว จึงได้ชื่อว่าเมืองพงตึก ท่านมนขอมพิษณุ เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.210 เมื่อน้อยได้เล่าเรียนลายสือไทย และลายสือขอมและวิชาช่างต่างๆ จากพ่อขอมพลม ผู้อาจารย์ พออายุได้ 21 ปี ได้รับแต่งตั้งจากพ่อขุนโลกละว้าธิบดีให้เป็นขอม คือ ตำแหน่งช่างนั่นเอง แม้ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินก็นิยมเรียกว่าขอม อักษรไทย ภาษาไทยแบบหนึ่งที่ไทยคิดขึ้นก็ยังเรียก ลายสือขอม ใช้กันต่อมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนกลาง จนบางคนเข้าใจผิดว่าลายสือขอมคือหนังสือของเขมร ผลงานที่ทำไว้ เป็นช่างไทยละว้า ที่เป็นนักประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา ได้ปั้นรูปและแกะสลักพระพุทธรูปปางต่างๆ ไว้เป็นอันมาก เป็นต้นแบบพระพุทธรูปที่ช่างชั้นหลังได้สร้างกันต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน งานหลักของท่านคือสร้างวัด ท่านสร้างวัดโดยตรงทั้งหมด 12 วัด ไม่นับไปช่วยที่อื่นๆ หลายแห่ง ในการสร้างวัสดุทุกอย่างต้องผลิตเองทั้งสิ้น อิฐสมัยก่อนแผ่นใหญ่ ใช้ดินผสมให้เหนียวแล้วมาปั้นเป็นอิฐดิน ก้อนใหญ่ หนา เป็นดินล้วนๆ วัด 12 วัด ที่ท่านมนขอมพิษณุสร้างขึ้นนี้ ล้วนเป็นพระอารามหลวงทั้งสิ้น ต้องสร้างให้ใหญ่กว้าง ต้องมีโบสถ์ วิหาร มีศาลา มีพระเจดีย์ พระธาตุที่สูงสง่า ซ้ำยังต้องแบ่งเป็นสังฆาวาสให้เป็นสัดส่วนอีกด้วย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ท่านมนขอมพิษณุรับราชการงานหลวงมาแต่ พ.ศ.231 จนถึง 268 เป็นเวลา 37 ปี อายุได้ 58 ปี จึงขอลาออกกลับมาอยู่ที่บ้านเดิมถิ่นเกิดคือ เมืองพงตึก อีกเป็นเวลา 30 ปี จนอายุได้ 88 ปี ท่านได้ช่วยงานราษฎร์และงานหลวงตลอด โดยเฉพาะกษัตริย์และราชวงศ์ต่อมา เช่น พระเจ้าตะวันอธิราชและเดือนเด่นฟ้าธิบดี ท่านมนขอมพิษณุได้บันทึกไว้ในกระเบื้องจารด้วยตนเองว่า ปี 298 เมื่อนี้ ปีขวบ 88 อยู่ดงสัก พุทธศาสนาตั้งมั่นในสุวรรณภูมิแต่พุทธกาล 237 เราสร้างอารามสงฆ์ถึงวัดมหาธาตุได้ 12 วัด เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งอรหันต์สงฆ์เจ้าจำนวน 5 รูป พร้อมด้วยคณะซึ่งมีสามเณร อุบาสก อุบาสิกา อำมาตย์และภริยาและคนทำอาหารต่างๆ รวม 38 คน เข้ามาในครั้งแรกนั้น ทำให้พระเจ้าโลกละว้าธิบดี ขุนหญิงก้านตาเทวีและเจ้าตะวันราชโอรส พร้อมด้วยข้าราชบริพารเลื่อมใสศรัทธาเป็นยิ่งนัก พระโสณเถรเจ้าได้แสดงธรรมพรหมชาลสูตรท่ามกลางฝูงชน เมื่อแสดงธรรมจนมีผู้ขออุปสมบทเป็นภิกษุ 1,000 รูป และบวชชี 100 ท่าน ต่อมาทรงเรียกท่านมนขอมพิษณุ ขอมเฉย ขอมเมืองเข้าเฝ้า ให้ควบคุมการสร้างวัดมหาธาตุทางด้านประตูเมืองทิศตะวันตก เริ่มลงหลักวัดเมื่อเดือน 5 ขึ้น 10 ค่ำ พุทธกาลล่วงมาแล้ว 236 ปี พร้อมนั้นได้ให้ท่านมนขอมพิษณุสร้างพุทธนิมิต คือ พระพุทธรูปในท่านั่งเทศนาโดยใช้ปูนขาวปั้นหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ตั้งไว้ที่ศาลประชุมสงฆ์หรือธรรมสภา และในปีนั้นให้สร้างพระอุโบสถ์เพิ่ม สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าและอรหันต์ขึ้นอีก และนิมนต์พระเถระเจ้าทั้ง 5 เข้าอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ เมืองสุวรรณภูมิ หลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับวัด ท่านมหาเถระปุณณะสร้างวัดปุณณาราม ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่า หนองวัด ใกล้กับบริเวณบ้านโพธิ์งาม ซึ่งเวลานี้มีลาวโซ่งอยู่มาก แต่เป็นวัดร้างไปแล้ว อยู่บริเวณอำเภอดำเนินสะดวก สามารถมองเห็นองค์พระปฐมเจดีย์แต่ไกล วัดที่ท่านมนขอมพิษณุสร้างในสมัยตะวันอธิราชและเดือนเด่นฟ้าราชาธิบดี คือ วัดมหาธาตุที่ดงสัก และปรากฏว่า ท่านมนขอมพิษณุมาสร้างเรือนใหญ่ ทำเป็นเมืองขึ้นที่พงตึกอันเป็นเมืองเดิมของขุนหญิงไหมวดี ที่มาสร้างเมืองทองด้วยแบบบ้านทรงไทย แต่ก่อนเรียกว่าอู่ทองเขาเขียว ภายหลังเรียกนองทอง เมื่อสร้างเมืองขึ้นแล้วจึงเรียกว่า เมืองกาญจนบุรี งานที่ใช้เวลานานละเอียดและมีความประณีตมากก็คือ งานแก้พระพุทธรูปจากแก้วสามก้อน สามสี คือ สีแดง สีขาว สีเขียว (ซึ่งพระเจ้าตะวันอธิราชเจ้าได้มาจากชมพูทวีปครั้งที่ไปช่วยพระราชาภีรุกะปราบการแย่งชิงดีระหว่างพี่น้องในชมพูทวีป) ท่านใช้เวลาแกะอยู่ถึง 15 ปี จึงจะแล้วเสร็จ โดยมีขอมเฉย ขอมเมืองและมั่นหาญ ซึ่งเป็นลูกชายช่วยกันทำเสร็จเรียบร้อยเมื่อ 15 ค่ำ เดือน 8 พุทธกาลล่วงแล้ว 285 ปี

ท่านมนขอมพิษณุได้ทุ่มเทชีวิตให้กับงานสร้างสรรค์ทั้งสิ้น แม้จนอายุถึง 110 ปี ก็ยังผลิตหินดานผสมยางไม้กระบก ทำแผ่นกระเบื้องให้ใช้จารเรื่องราวความเป็นมาที่พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในเมืองทองสุวรรณภูมิ ท่านเกิด พ.ศ.210 เมื่ออายุ 21 ตรงกับ พ.ศ.231 ได้รับตำแหน่งขอม อายุ 58 ปี พ.ศ.268 ลาออกมาสร้างเมืองกาญจนบุรี สร้างวัดมหาธาตุดงสัก สร้างวัดทั้งของราษฎร์และของหลวง แกะพระแก้ว 3 องค์ ท่านเสียชีวิตลงใน พ.ศ.321 ซึ่งมีอายุ 111 ปี…
Date
Source มนขอมพิษณุ
Author พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)

Licensing

[edit]
w:en:Creative Commons
attribution share alike
This file is licensed under the Creative Commons Attribution-Share Alike 4.0 International license.
You are free:
  • to share – to copy, distribute and transmit the work
  • to remix – to adapt the work
Under the following conditions:
  • attribution – You must give appropriate credit, provide a link to the license, and indicate if changes were made. You may do so in any reasonable manner, but not in any way that suggests the licensor endorses you or your use.
  • share alike – If you remix, transform, or build upon the material, you must distribute your contributions under the same or compatible license as the original.

File history

Click on a date/time to view the file as it appeared at that time.

Date/TimeThumbnailDimensionsUserComment
current18:34, 5 November 2014Thumbnail for version as of 18:34, 5 November 2014650 × 777 (183 KB)Sittiporn (talk | contribs)User created page with UploadWizard

There are no pages that use this file.

File usage on other wikis

The following other wikis use this file: